การใช้เงื่อนไข if(){}else{}เงื่อนไข? (if) ผมขออธิบายโดยการยกตัวอย่างเลยนะครับ คำว่า "ถ้าวันนี้ฝนไม่ตก" กับ "แต่ถ้าวันนี้ฝนไม่ตก" คือเงื่อนไขครับ ส่วนคำว่า "ผมจะออกไปซื้อของข้างนอก" กับ "ผมจะนอนอยู่บนเตียง" คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดครับ ตัวแปรที่เกี่ยวกับข้อความที่กล่าวมา มีอะไรบ้าง? 1. ผม คือ ตัวบุคคล หรือ คน เมื่อนำมาเขียนเป็นภาษา PHP จะได้ดังนี้ <? $me_sleep = "ผมจะนอนอยู่บนเตียง"; $me_go = "ผมจะออกไปซื้อของข้างนอก"; $rain = "ฝนไม่ตก"; if($rain == "ฝนตก") { echo $me_sleep; } else { echo $me_go; } ?>
ตัวดำเนินการ เปรียบเทียบ กับเงือนไขในภาษา PHP (บางส่วน) == (เท่ากับ) ตัวอย่าง if($a == $b){ "สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อตรงตามเงื่อนไข" } *มือใหม่หลายคน รวมทั้งผมนะครับ จะสับสน และใช้ผิดบ่อยๆ ระหว่าง การกำหนดตัวแปร กับ การสร้างเงื่อนไข ตอนใช้ = เท่ากับ เอาละครับ ต่อไปจะเป็นการยกตัวอย่าง เงื่อนไขแบบง่ายๆ คือ โปรแกรม แยกตัวเลข คู่ หรือ ตัวเลข คี่ นะครับ ขั้นที่ 1 สร้าง form เพื่อรับค่าตัวเลขจากผู้ใช้ 1 ค่าแล้วบันทึกไฟล์ไว้ที่ XXX:\AppServ\www\lesson3\test.php ดังรูปตัวอย่าง ที่ 1
รูปที่ 1 สร้าง form เพื่อรับค่าตัวเลข <form id="form1" name="form1" method="post" action="test.php">
<input type="text" name="number" id="number" /> <input type="submit" name="button" id="button" value="ตัวเลขตัวนี้คือ..." /> </form>
รูปที่ 2 โปรแกรมแยกเลขคู่หรือเลขคี่
<form id="form1" name="form1" method="post" action="test.php"> <input name="number" type="text" id="number" value="<?=$_POST['number']?>" /> <input type="submit" name="submit" id="submit" value="ตัวเลขตัวนี้คือ..." /> <? if($_POST['submit']) { $number = $_POST['number']; $ModNumber = $number%2; if($ModNumber == 0) { echo "มีค่าเป็นเลขคู่"; } else { echo "มีค่าเป็นเลขคี่"; } } ?> </form>
รูปภาพที่ 3 แสดงผลโปรแกรมแยกเลขคู่หรือเลขคี่
จากรูปที่ 2 โปรแกรมแยกเลขคู่หรือคี่ บรรทัดที่ 10 <input name="number" type="text" id="number" value="<?=$_POST['number']?>" />สังเกตจะมี PHP แทรกมาใน value="<?=$_POST['number']?> ตัวนี้จะเป็นการกำหนดค่าที่อยู่ใน textbox ให้แสดงค่าที่ POST มาครับ เช่นถ้าเรากรอกตัวเลข 13 แล้วกดปุ่ม "ตัวเลขตัวนี้คือ" ในช่องกรอกตัวเลขก็จะแสดงเลข 13 ขึ้นมาครับ
จากตัวอย่างที่กล่าวมาบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่ ไม่เป็นไรครับ ผมมีอีกตัวอย่าง ให้ท่านได้ทำความเข้าใจอีกครับ ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นโปรแกรม กำออกเกรดนะครับ การทำงานของโปรแกรมก็ใ้ช้ขั้นตอนง่ายๆโดยการกรอกคะแนนรวม ที่มีตั้งแต่ 0 - 100 เพื่อออกเกรด ซึ่งเกรด ในระดับ มัธยมหรืออดุมส่วนใหญ่ก็จะเป็น 8 เกรด ได้แก่ 0 , 1 , 1.5 , 2 , 2.5 , 3 , 3.5 , 4 แต่ผมคิดว่ามันเยอะไป ขอแค่ 5 พอ ครับ คือ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 ขั้นที่ 1 เริ่มต้นจากการสร้าง form ให้รับค่าคะแนน เป็น textbox ให้ชื่อว่า final_score แล้วบันทึกไว้ที่ XXX:\AppServ\www\lesson3\test2.php ดังรูปภาพที่ 4
รูปภาพที่ 4 สร้าง form รับค่าคะแนน
<form id="form1" name="form1" method="post" action="test2.php"> <input name="final_score" type="text" id="final_score" value="<?=$_POST['final_score']?>" /> <input type="submit" name="submit" id="submit" value="คำนวณเกรด" /> </form>
รูปภาพที่ 5 โปรแกรมคำนวณเกรด <?
if($_POST['submit']) { $final_score = $_POST['final_score']; if($final_score < 0) { echo"กรุณากรอกตัวเลขตั้งแต่ 0 ขึ้นไป"; } else if($final_score < 50) { echo "คะแนน $final_score ได้เกรด 0"; } else if($final_score < 60) { echo "คะแนน $final_score ได้เกรด 1"; } else if($final_score < 70) { echo "คะแนน $final_score ได้เกรด 2"; } else if($final_score < 80) { echo "คะแนน $final_score ได้เกรด 3"; } else if($final_score <= 100) { echo "คะแนน $final_score ได้เกรด 4"; } else { echo "ผิดพลาด กรุณากรอกตัวเลขไม่เกิน 100"; } } ?> ขั้นที่ 3 ทดลองโปรแกรม โดยการบันทึกไฟล์และเรียกโปรแกรมคำนวนเกรด ที่ http://localhost/lesson3/test2.php
รูปภาพที่ 6 โปรแกรมคำนวณเกรด
ผมขอไม่อธิบายบางบรรทัดที่คล้ายกับตัวอย่างที่แล้วนะครับ ขออธิบายในส่วนที่สำคัญๆเลยดังต่อไปนี้ จากรูปภาพที่ 5 โปรแกรมคำนวณเกรด บรรทัดที่ 12 - 15 คือการสร้างเงื่อนไข โดยตรวจสอบ ค่าจากตัวแปร $final_score ว่าน้อยกว่า 0 หรือไม่ (กรณีที่กรอกค่าติดลบมา) ถ้าหากเป็นค่าที่น้อยกว่า 0 ก็จะแสดง "กรุณากรอกตัวเลขตั้งแต่ 0 ขึ้นไป" วิธีติดตั้ง PHP+Mysql | เริ่มต้นกับภาษา PHP | การคำนวณค่าและแสดงผล | การใช้เงื่อนไข if(){}else{} | Loop while(){} for i | การใช้ Array ใน PHP | วิธีสร้างฐานข้อมูล Mysql | phpMyAdmin เพิ่ม ลบ แก้ไข Mysql | ส่งออก - นำเข้า ฐานข้อมูล Mysql ด้วย phpMyAdmin | เชื่อมต่อฐานข้อมูล Mysql | วิธีแสดงผลข้อมูล Mysql | การเพิ่มข้อมูลลงในฐานข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีลบข้อมูล Mysql ด้วย PHP | วิธีแก้ไขข้อมูล Mysql ด้วย PHP | ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล Mysql ด้วย PHP | บทความโดย : Admin 2009-06-16 01:02:10 (39443) แหล่งที่มา : Admin |
||